พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (Mrigadayavan Palace, phra ratcha niwet maruekkhathayawan) ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว; พ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2468) เพื่อเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อน
ในอดีตตามกฎหมายจารีตประเพณี ห้ามไม่ให้ประชาชนทั่วไป เข้าไปในบริเวณที่ประทับ ของพระมหากษัตริย์ การพิจารณาสถานที่สร้างพระราชวัง จึงหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด ความเดือดร้อนต่อประชาชน โดยได้เลือกบริเวณ ชายหาดบางทะลุ ในจังหวัดเพชรบุรี ของประเทศไทย
พระราชวังเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2460 และชายหาดถูกเปลี่ยนชื่อเป็น หาดเจ้าสำราญ ซึ่งหมายถึงหาดแห่งความสุข พระตำหนักหาดเจ้าสำราญถูกใช้เป็น ที่ประทับแปรพระราชฐาน ในฤดูร้อนระหว่างปี พ.ศ. 2460 ถึงปี พ.ศ. 2466 เนื่องจากปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ รวมถึงความไม่สะดวกในการเดินทาง ระหว่างหาดเจ้าสำราญ และตัวเมืองเพชรบุรี
จึงนำไปสู่การย้ายพระราชวังไปยัง ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ที่อยู่ระหว่างหาดเจ้าสำราญ และหาดหัวหิน การออกแบบโดย นายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) สถาปนิกชาวอิตาลี ของกระทรวงโยธาธิการ และดูแลการก่อสร้างโดย เจ้าพระยายมราช (ปั้นสุขุม) รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย
อาคารและสิ่งปลูกสร้างเดิม ของพระตำหนักหาดเจ้าสำราญ ถูกย้ายมายังที่ตั้งแห่งใหม่ โดยการก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2466 และแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2467 การออกแบบพระราชวังที่เรียบง่าย โดยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรม ในรูปแบบไทยผสมตะวันตก
ด้วยบริเวณห้วยทราย มักพบกวางอาศัยอยู่จำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ จึงพระราชทานนาม พระราชวังฤดูร้อนแห่งนี้ว่า “มฤคทายวัน” ที่มีความเป็นมงคลเช่นเดียวกับ “อิสิปตนมฤคทายวัน” สวนกวางในประเทศอินเดีย สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก
โดยในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ ทรงเสด็จแปรพระราชฐาน มาประทับที่พระราชวัง 2 ครั้ง คือในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2467 และปี พ.ศ. 2468 โดยในเวลา 5 เดือนต่อมา พระองค์ทรงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
ในปัจจุบันพระราชวัง ยังคงซึ่งไว้เขตพระราชฐาน และในปี พ.ศ. 2536 ถูกจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม ความสง่างามที่เรียบง่ายของพระราชวัง
พระที่นั่งพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
บริเวณโดยรอบของพระราชวัง ประกอบไปด้วยหมู่พระตำหนัก ที่ถูกสร้างด้วยไม้สักทอง ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น ที่มีมีฐานรากก่ออิฐถือปูน และใต้ถุนสูงเปิดโล่ง รวมถึงหลังคาทรงปั้นหยา ที่มุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยม สร้างความสง่างาม และสอดคล้องกับสภาพอากาศริมทะเล
ซึ่งภายในพระราชวังแห่งนี้ มีพระที่นั่งที่สำคัญๆ ที่ประกอบไปด้วยท้องพระโรง, เขตที่ประทับฝ่ายหน้า และเขตที่ประทับฝ่ายใน โดยมีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งต่างๆ ได้แก่ พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์, พระที่นั่งสมุทพิมาน, พระที่นั่งพิศาลสาคร, เรือนข้าราชบริพาร
- พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นพระที่นั่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ มีท้องพระโรงเป็นสถานที่สำคัญ สำหรับเสด็จออกว่าราชการ, รับรองพระราชอาคันตุกะ และประกอบพระราชพิธีต่างๆ
- พระที่นั่งสมุทรพิมาน ประกอบด้วยหมู่อาคาร ที่เป็นส่วนที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ, หอเสวยฝ่ายหน้า เป็นสถานที่สำหรับเสวยพระกระยาหาร และจัดงานพระราชทานเลี้ยง, ส่วนของข้าราชบริพารฝ่ายชาย หรือฝ่ายหน้า
- พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี, ท้องพระโรงฝ่ายใน ปัจจุบันเป็น โรงเรียนสอนดนตรีไทย, หอเสวยฝ่ายใน และเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน
สวนพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
เป็นโครงการในการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ โดยหม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล ผู้ออกแบบสวน ที่ได้แรงบันดาลใจจาก บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ ประกอบไปด้วย สวนเวนิสวานิช, สวนศกุนตลา, และสวนมัทนะพาธา
- สวนเวนิสวานิช เป็นสวนสไตล์เรอเนสซอง อยู่ด้านหน้าของเขตพระราชฐาน เพื่อเป็นจุดนัดพบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่นเดียวกับเมืองเวนิส โดยได้รับแรงบันดาลใจ จากบทพระราชนิพนธ์ เรื่องเวนิสวานิช ที่แปลมาจากเรื่อง The Merchant of Venice ของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์
- สวนศกุนตลา เป็นสวนที่มีลานกว้าง รายล้อมไปด้วยต้นเข็มนานาพันธุ์ เพื่อเป็นพื้นที่ใช้เป็นเวทีจัดการแสดงต่างๆ ได้แก่ การแสดงโขน, การแสดงละครในฤดูหนาว รวมถึงการจัดเลี้ยงรับรองต่างๆ
- สวนมัทนะพาธา เป็นสวนที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากบทพระราชนิพนธ์ เรื่องมัทนะพาธา หรือตำนานดอกกุหลาบ สวนแห่งนี้ถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ด้วยแนวไม้พุ่ม ที่มีความอ่อนช้อยของต้นข่อย ซึ่งทนต่อแดด และไอทะเลได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังมีสวนพรรณไม้สวยงาม และความร่มรื่นของ ไม้ยืนต้นนานาพันธุ์ ได้แก่ สวนวิวาหพระสมุท, สวนครัวและพืชสมุนไพร และสวนเบญจนารีธรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น อาคารนิทรรศการ, ร้านค้าพระราชนิเวศน์ฯ, อาคารสำนักงาน, ร้านน้ำชา และห้องน้ำ เป็นต้น
ที่อยู่ 1281 เพชรเกษม ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 (1281 Petchkasem, Petchkasem Road, Cha-am Sub-District, Cha-am District, Petchaburi 76120)
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว โทร. 0-2356-0656, 0-2356-0718
- สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
- กรมการท่องเที่ยว โทร. 02-401-1111
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. 1672
ติดต่อสอบถาม +66-3250-8444
website: mrigadayavan.or.th
เวลาทำการ 08:30 – 16:00 น. ***ปิดทำการวันพุธ
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท (ค่าเข้าชมเฉพาะด้านล่าง และบริเวณโดยรอบ)
การเดินทาง
การเดินทางด้วยรถส่วนตัว ใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 (ถนนพระรามที่ 2) ผ่านเซ็นทรัลพระราม 2, จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม (56 นาที, 75.9 กม.) จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มุ่งหน้าสู่จังหวัดเพชรบุรี วิ่งผ่านสี่แยกชะอำ จนถึงหลักกิโลเมตร 216 เลี้ยวซ้ายที่ประตูทางเข้า ค่ายพระรามหก และขับตรงไปประมาณ 3 กิโลเมตร พระราชวังตั้งอยู่ริมทะเล
by Google Map